ระบบการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย


         ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน อวัยวะภายนอกเป็นอวัยวะที่เราสามารถมองเห็นได้ ส่วนอวัยวะภายในเป็นอวัยวะที่อยู่ใต้ผิวหนังซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในเหล่านี้มีมากมายและทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบ เช่น ระบบการย่อยอาหาร ก็จะประกอบด้วยปาก หลอดลม กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติ ถ้าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความบกพร่องหรือเกิดความผิดปกติ ระบบการทำงานนั้นก็จะบกพร่องหรือผิดปกติด้วย


ระบบการย่อยอาหาร
          ระบบย่อยอาหารมีหน้าที่ย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้ละเอียด และดูดซึมสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
         1. ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากประกอบด้วยลิ้น ฟัน และต่อมน้ำลาย
         2. หลอดอาหาร ไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร แต่ทำหน้าที่ในการลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหารเท่านั้น มีความยาว 25 ซม. เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยืดและหดตัวได้
         3. กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุงรูปร่างตัวเจ สามารถขยายตัวได้เมื่อมีอาหาร 10-40 เท่า กระเพาะอาหารทำหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร โดยกระเพาะอาหารจะบีบตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย


          4. ลำไส้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
              4.1)  ลำไส้ดูโอดีนัม เป็นลำไส้ที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดจากกระเพาะ อาหารให้เป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้ส่วนอื่นได้รับอันตรายจากกรด
              4.2)  ลำไส้เล็ก รูปร่างเป็นท่อ ยาวประมาณ 6.5 ซม. ในลำไส้เล็กมีน้ำย่อยหลายชนิดใช้ย่อยอาหารได้ทุกประเภท
              4.3)  ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่บางส่วนที่ยังหลงเหลือในกากอาหาร ทำให้กากอาหารแห้งเป็นก้อนอุจจาระ




ระบบวงจรโลหิต
          ระบบวงจรหมุนเวียนโลหิตเป็นกระบวนการหมุนเวียนโลหิตไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อนำกาซออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย พร้อมนำกาซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่ร่างกายใช้แล้วออกมานอกร่างกาย
         1. หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบวงจรโลหิต รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม แบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ หัวใจห้องบนซ้าย หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจห้องบนขวา หัวใจห้องล่างขวา ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัวก็จะสูบโลหิตเข้ามา และเมื่อหัวใจบีบตัวก็เป็นการฉีดโลหิตออกไป การศูบฉีดโลหิตนี้เป็นการทำงานของหัวใจ 4 ห้องนี้
         2. ปอด ทำหน้าที่ฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง โดยรับโลหิตดำที่ส่งมาจากหัวใจห้องล่างขวามาถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากโลหิตดำ และส่งกาซออกซิเจนให้แทน ซึ่งทำให้โลหิตดำเปลี่ยนเป็นโลหิตแดง การแลกเปลี่ยนกาซภายในปอดนี้ เรียกว่า การฟอกโลหิต
         3. เส้นเลือด หรือหลอดเลือด มี 2 ชนิด คือ หลอดโลหิตแดง และ หลอดโลหิตดำ
            1) หลอดโลหิตแดง ทำหน้าที่ลำเลียงโลหิตที่ถูกฉีดออกจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
            2) หลอดโลหิตดำ ทำหน้าที่ลำเลียงโลหิตดำกลับเข้าสู่หัวใจ
         4. โลหิตหรือน้ำเลือด เป็นของเหลวที่บรรจุอยู่ในหลอดโลหิต
           1) เซลล์เม็ดเลือดแดง จะนำออกซิเจนที่รวมอยู่กับสารฮีโมโกลบินไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย
           2) เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากแบคทีเรียและจุลินทรีย์ต่างๆที่มีอันตรายต่อร่างกาย

ระบบหายใจ
      1. จมูก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
           - ส่วนรับลมหายใจ จะมีขนจมูกช่วยกรองฝุ่นละอองในอากาศ
           - ส่วนหายใจ จะมีเยื่อเมือกอยู่จำนวนมาก เพื่อทำให้อากาศที่เราหายใจเข้าไปอุ่นและมีความชื้น
จมูกส่วนนี้จะทะลุออกไปภายในลำคอได้
           - ส่วนดมกลิ่น จะมีเซลล์รับกลิ่นอยู่ ทำหน้าที่แปลกลิ่นเป็นสัญญาณประสาทผ่านเส้นประสาทก่อนเข้าสู่สมองเพื่อแปลผลการดมกลิ่น
      2. หลอดลม ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศลงสู่ปอด
      3. ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบการหายใจ ด้านนอกปอดจะมีเยื่อลื่นๆหุ้มป้องกันไม่ให้ปอดได้รับอันตราย เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด ปลายขั้วปอดจะแตกแขนงออกเป็นหลอดลมเล็กๆจำนวนมาก เรียกว่า หลอดลมฝอย ที่ปลายทางของหลอดลมฝอยจะมีถุงลมเล็กๆจำนวนมากสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซ


ระบบขับถ่าย
         ระบบขับถ่าย ทำหน้าที่กรองของเสียจากโลหิตออกนอกร่างกาย ระบบขับถ่ายของคนเรา มี 4 ระบบ คือ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายเหงื่อ ระบบขับถ่ายอุจจาระ ระบบขับถ่ายกาซคาร์บอนไดออกไซด์
        1. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดแล้วนำออกนอกร่างกายในรูปของปัสสาวะ
            1.1 ไต รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ตั้งอยู่ทางด้านหลังของช่องท้องด้านซ้ายและขวา ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต โดยไปรวมกันที่กรวยไต จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ พร้อมที่จะขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ
            1.2 กระเพาะปัสสาวะ ตั้งอยู่ตอนล่างของช่องท้อง สามารถบรรจุน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1.5 ล.
        2. ระบบขับถ่ายเหงื่อ ทำหน้าที่สกัดน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ
        3. ระบบขับถ่ายอุจาระ ทำหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยอาหารออกจากร่างกายในรูปของอุจาระ
           3. 1. ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและเกลือแร่ออกจากกากอาหาร และขับเมือกออกมาหล่อลื่นให้กากอาหารส่วนที่แข็งเคลื่อนที่ผ่านไปได้
           3. 2. ทวารหนัก ทำหน้าทีเป็นทางระบายอุจจาระ
        4. ระบบขับถ่ายกาซคารบอนไดออกไซด์ ทำหน้าทีขับกาซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นกาซที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกาย อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ คือ ปอด

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 กรกฎาคม 2554 เวลา 02:43

    บ้านวิทยาศาสตร์ครูแม็กมีความรู้เกี่ยวกับหลักวิทยาศาสตร์สามารถนำมาใช้ในชีวิตได้เป็นข้อมูลที่ดีเยี่ยมมากๆๆๆๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ25 มกราคม 2555 เวลา 07:17

    ขอบคุณมากค่ะ ดีมากเลยค่ัะ จากด.ญ.กานต์อาภา กรวิวัฒน์ จ.ระยอง

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2555 เวลา 02:49

    ตัวหนังสือเล็กมากเลยค่ะมองไม่เห็นเลยว่าอ่านว่ายังไง

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ14 กันยายน 2555 เวลา 00:40

    ดีมากเลยค่ะคุณครูแม็ก แต่ตัวหนังตัวเล็ก แต่ดีมากเลยค่ะข้อมูลก็ดีเก่งจังคุณครู

    ตอบลบ
  5. มีข้อมูลเยาะมากเลยครับ จะทำรายงานก็สดวกครับ เด็ก กา สิน

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ21 พฤษภาคม 2557 เวลา 06:00

    คลำดูท้องด้านขวาตรงแถวสะดือมันคืออะไรเป็นไปได้ไหมว่ามันคือของเสียที่เรายังไม่ได้ถ่ายออกไป

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณค่ะ ลูกมีการบ้านหัวข้อนี้พอดี

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณค่ะ ถ้าไม่เปิดมาเจอนี่การบ้านคงไม่เสร็จค่ะ
    จาก ด.ญกัญญารัคน์ เวชการ รร ศรัทธาสมุทร จ.สมุทรสงคราม

    ตอบลบ