การเจริญเติบโตของมนุษย์

การเจริญเติบโตของร่างกาย

การเจริญเติบโตของมนุษย์
              พืชและสัตว์มีการเจริญเติบโต ตัวเราก็มีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับต้นพืช เมื่อก่อนเราตัวเล็ก เดี๋ยวนี้เราตัวโตขึ้น ที่เราตัวโตขึ้น เพราะเราได้กินอาหารทุกวัน อาหารที่เหมาะสม และช่วยให้เด็กๆ อย่างพวกเราเจริญเติบโตได้ดีชนิดหนึ่ง คือ นม
              การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตและแข็งแรง สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต คือ การมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ความสูงของร่างกายคนเรา จะเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะกับน้ำหนักตัวเรา เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่เมื่อมีอายุระหว่าง 14-15 ปี หลังจากนั้นก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วยเด็กผู้ชายส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นที่เมื่ออายุระหว่าง 17-18 ปี หลังจากนั้นส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่าง ๆ
             ร่างกายคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละวัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป

 การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
 • น้ำหนัก
• ส่วนสูง
• ความยาวของลำตัว
• ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่
• ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
• ความยาวของเส้นรอบอก
• การขึ้นของฟันแท้


ลักษณะการเจริญเติบโต

           พัฒนาการประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน รูปแบบของการเติบโตแบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ คือ
          1. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด เด็กจะค่อยๆ สูงขึ้น มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น รูปร่างขยายขึ้น อวัยวะภาย ใน เช่น หัวใจ ปอด ก็จะใหญ่ขึ้น


           2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วนและสติปัญญา สัดส่วนของเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ โดย เฉพาะในวัยทารกกัยวัยผู้ใหญ่ ส่วนในด้านสติปัญญาก็จะเปลี่ยนไปตามวัย จากคำพูด ไปสู่การ เล่นของเล่น และในวัยรุ่นจะชอบเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว


          3. ลักษณะเดิมหายไป นั่นคือ การเติบโตทำให้อวัยวะหรือสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่แรกเกิดหายไป เช่น ฟันน้ำนม และขนอ่อนตอนที่เป็นเด็ก
         4. ลักษณะใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ เมื่อฟันน้ำนมและขนอ่อนหลุดไป ก็จะได้ฟันแท้มาแทนและอยู่กับ เราไปจนตลอดชีวิต ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง

เด็กวัยทารกหรือเด็กวัยแรกเกิด
               เด็กวัยแรกเกิดจะมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี จะมีการเจริญเติบโตโดยมีสัดส่วนของศีรษะต่อลำตัวเป็น 1 ต่อ 4

เด็กก่อนวัยเรียน


ในวัยนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 3-6 ปี รูปร่างและสัดส่วนของเด็กจะเปลี่ยนไปจากวัยแรกเกิด ดังนี้
            •รูปร่างค่อยๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมื่อเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่และแข็งแรง อกและไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง







เด็กวัยเรียน
               เด็กในวัยเรียนอายุระหว่าง 6-12 ปี จะมีการเจริญเติบโต ดังนี้
              •  น้ำหนักโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4-5 เซนติเมตรต่อปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่


 เด็กวัยรุ่น องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ

          เด็กวัยรุ่นจะมีอายุอยู่ในช่วงอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป จนถึงอายุประมาณ 20 ปี ระยะวัยรุ่นจัดว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จึงจัดว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิต ซึ่งถ้าวัยรุ่นไม่ได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง อาจทำให้ประพฤติในสิ่งที่ผิดได้
          เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนี้
         -  เพศชาย จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุประมาณ 15 ปี ร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้นมีกล้ามเนื้อขึ้นเป็นมัด แขนขาขาวใหญ่ขึ้น มีหนวดเครา นมแตกพานเสียงห้าว มีขนขึ้น
         -  เพศหญิง จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืออายุประมาณ 15 ปี หน้าอกจะขยายใหญ่ขึ้น เอวคอด สะโพกพาย ใบหน้าและผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น มีสิวขึ้นที่ใบหน้าและมีประจำเดือน

วัยผู้ใหญ่ (ตั้งแต่อายุ 21-40 ปี)

       พฤติกรรมวัยผู้ใหญ่
          - เริ่มแสวงหามิตรสนิทคู่ใจอย่างจริงจัง (ส่วนมากเพื่อสนิทได้มาจากการแต่งงาน)
          - คนส่วนมากแต่งงาน มีบทบาทเป็นสามี ภรรยา และพ่อ-แม่ ต้องปรับตัวต่อบทบาทเหล่านี้
          - พัฒนาการทางกายสมบูรณ์ถึงขีดสูงสุด และจะเริ่มลดความเข้มแข็งในตอนท้ายของวัย
          - การตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพ อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งจนกว่าจะลงตัว
          - รู้จักตนดีขึ้นกว่าวัยรุ่น
          - รู้จักคิดอย่างซับซ้อนขึ้น

วัยชรา (ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไปจนตาย)


     พฤติกรรมวัยชรา
          - สมรรถภาพทางกายเริ่มเสื่อมอย่างเห็นได้ชัดเจน
          - บางคนจะยังมีอนามัยดีและกระฉับกระเฉง ถ้ามีการเตรียมตัวมาด้วยดี
          - สติปัญญาและความจำอาจเริ่มเสื่อม แต่คนที่มีอนามัยดีและรู้จักพัฒนาสติปัญญา  ความจำ ทั้งสองสิ่งนี้จะยังคงดำรงอยู่หรือพัฒนาได้อีกต่อไป
          - การเคลื่อนไหวช้าลง
          - ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับการสุญเสียต่างๆ เช่น ความเสื่อมทางพละกำลัง การออกจากงาน ความเจ็บไข้น้อยลง
          - รู้จักใช้เวลวาว่างอย่างสร้างสรรค์
          - รู้จักปรับตัวต่อการเกษียณอายุสำหรับคนทำงานในระบบเกษียณอายุ
          - ปรับตัวใหม่ต่อสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา
          - ค้นหาความหมายของการดำรงชีวิต
          - เผชิญความตายของผู้ที่เป็นที่รัก
          - เตรียมตัวตายของตนเองอย่างสงบและมีสติ

สิ่งที่เป็นผลต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์
          1. พันธุกรรม (Heredity) คือ ลักษณะต่างๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพ บุรุษสู่ลูกหลาน การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่างๆ จากพ่อและ แม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกโดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับ มนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 ตัว มีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์ คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับสติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรม จะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายมากที่สุด
          2. วุฒิภาวะ (Maturation) เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตามธรรม ชาติของบุคคล โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะ กระทำได้
          3. การเรียนรู้ (Learning) เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์ และการฝึกหัด หรือความสามารถทางทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่อง"ความพร้อม"

นักจิตวิทยาได้แบ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
         ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่ เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตาม ไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้าม อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
        ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรง ข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้นการ แนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับ ตัว เป็นอย่างมาก

        4. สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบ ครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น